วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงร่างงานวิจัย

โครงร่างการศึกษาด้วยตนเอง

ชื่อเรื่อง ยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการบริหารการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อนิสิต พันโท วีระพงษ์ ไชยพุทธ
รหัสประจำตัว 52101552
สาขาวิชา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารเชิงกลยุทธ์)
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วศิน เหลี่ยมปรีชา
ปีการศึกษา 2553



ยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการบริหารการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการความรู้ ( Knowmledge Management ) ในงานบริการด้านสุขภาพของโรงพยาบาล เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ด้วยการบริการด้านสุขภาพเป็นงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน วิชาการและความชำนาญของบุคคลากรผู้ปฏิบัติ
เป็นสำคัญ ยิ่งกว่าพื้นฐานด้านอื่นในการบริการ ความผิดพลาด ล่าช้า หรือความไม่สมบูรณ์ของการบริการด้านสุขภาพสามารถนำมาสู่ปัญหาและความยุ่งยากมากมาย ตั้งแต่ ด้านเอกสาร จิตใจ ร่างกาย หรือแม้แต่การเสียชีวิตของผู้รับบริการ ยิ่งกว่านั้น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรยังเป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้ของบุคลากร ด้านสาธารณสุขในหลายกลุ่ม ทั้งนักเรียนด้านการสาธารณสุข บุคคลากรและองค์กรสาธารณสุขในภาคเหนือตอนล่าง
การศึกษายุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการบริหารการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อให้ทราบยุทธศาสตร์ ปัจจัยสำคัญที่มีผล และปัญหาข้อขัดข้องในการบริหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ขององค์กรด้านสาธารณสุขต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้ และ ยุทธศาสตร์หลักของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าสอดคล้อง เหมาะสม กันเช่นไร
2.เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่มีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้
3.เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารการจัดการความรู้ในอนาคตขององค์กร

ทฤษฎีและกรอบแนวคิดในการศึกษา
1 การบริหารการจัดการความรู้ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากของการบริหารจัดการองค์กรที่มุ่งสร้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หลักขององค์กรที่วางไว้
2 การบริหารการจัดการความรู้ที่ประสบผลสำเร็จ ควรมาจาก แผนยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการความรู้ทีดีซึ่งเป็นไปตามเหมาะสมกับโอกาส อุปสรรค ของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และ จุดอ่อน จุดแข็ง ขององค์กร มีขั้นตอนการปฏิบัติ ควบคุม และประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
3 การเติบโตหลักขององค์กรมาจากยุทธศาสตร์เชิงรุก ที่เป็นการใช้ความสามารถและจุดแข็งขององค์กร ร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม


สมมติฐานของการศึกษา
1. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
2.ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก
3.ปัจจัยการบริหารภายนอกมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้ มากกว่าปัจจัยภายใน

ขอบเขตการศึกษา
ศึกษา การบริหารจัดการความรู้ของฝ่ายบริหารและเกี่ยวข้อง ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ในช่วงเวลา เดือน ตุลาคม 2553 ถึง มกราคม 2554 ในด้าน
1นโยบายเชิงกลยุทธด้านการบริหารการจัดการความรู้
2ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้

ข้อจำกัดการศึกษา
เนื่องจากโครงสร้างการบริหารของ ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรในส่วนที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้แตกต่างกัน จึงทำให้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบคำถามแต่ละส่วนแตกต่างกัน

คำสำคัญ หรือคำจำกัดความที่ใช้ในการศึกษา
1. ยุทธศาสตร์ ( Strategy) หมายถึง แผนงาน วิธีการสู่การปฏิบัติ ที่จัดเตรียมขึ้นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายสูงสุด โดยการใช้ทรัพยากรให้มีคุณค่ามากที่สุดและได้เปรียบคู่แข่งขัน ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ โอกาส ภัยคุกคาม (อุปสรรค) และวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง ขององค์กรที่เหมาะสม ในกรอบระยะเวลาที่ต้องการ
2. นโยบายเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Policy ) หมายถึง หลักและวิธีปฏิบัติที่ถือเป็นแนวทางดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ( Goal ) และวัตถุประสงค์ ( objective )ขององค์กร ซึ่งรวมถึง ข้อเสนอแนะ ( guideline) กฏ (rule) และกระบวนการ ( procedure)
3. การบริหารจัดการความรู (Knowledge Management : KM) หมายถึง
ระบบบริหารจัดการความรูใหเปนระเบียบ ครบถวน งายตอ การเรียกใช จัดเก็บตามความตองการ เก็บรักษาความรูใหควบคูกับองคกรตลอดไป โดยนําเทคโนโลยีเขามาใชในการจัดการ



ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เข้าใจความสัมพันธ์และสอดคล้องของยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้กับยุทธศาสตร์หลักของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
2. ทราบปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่มีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการความรู้ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
3. ทราบแนวทางในการบริหารการจัดการความรู้ที่มีประสิทธภาพยิ่งขึ้นของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วิธีดำเนินการวิจัย :

ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ : โดย

1. การเข้าพื้นที่ ด้วยการขออนุญาตเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากคณะแพทยศาสตร์ และประสานโดยตรงกับแหล่งข้อมูล

กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) คือ ฝ่ายบริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ( คณะทำงาน ทีมงานด้านการจัดการความรู้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการพยาบาล ) ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จากการสุ่มเฉพาะเจาะจง

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เทปบันทึกเสียง การจดบันทึก ตัวผู้วิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล จาก เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม/ไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก

4. ระยะเวลาในการศึกษา เริ่มตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2553 ถึง มกราคม 2554

5. การตรวจสอบข้อมูล ด้วยการ การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation)

6. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


แผนการดำเนินงาน