วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้

ที่มา http://www.stks.or.th/blog/?p=168


จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ ได้นำเสนอแนวความคิดของ Keyser ว่ามีการจัดกลุ่มปัจจัยออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกระบวนการจัดการความรู้ ด้านการประเมินและวัดผลการจัดการความรู้ และด้านกลยุทธ์การจัดการความรู้

วัฒนธรรมองค์กร ครอบคลุมในรายละเีอียด ดังนี้ 1 วัฒนกรรมการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้ที่เข้มแข็ง 2. พันธะสัญญา การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนส่งเสริมของผู้บริหาร 3. บรรยากาศของการแ่บ่งปันความรู้และการเรียนรู้ในองค์กร เป้าหมาย 4. เป้าหมายและความสนใจร่วมกัน 5. ความจริงใจและการนับถือกัน 6. การสร้างแรงจูงใจ การมีส่วนร่วมและการมอบอำนาจให้ผู้ปฏิบัติงาน 7. เครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงบุคลากร 8. การให้รางวัล / การยกย่องชมเชยและการยอมรับ / การส่งเสริมหน้าที่การงานและการประเมินผล 9. กล้าที่จะทำโดยไม่กลัวความล้มเหลว 10. สภาพแวดล้อมของความร่่วมมือกัน
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 1. คลังข้อมูลและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง จัดเก็บและเข้าถึงเนื้อหา 2. เทคโนโลยีที่สนับสนุนในการถ่ายทอดความรู้ 3. เทคโนโลยีบนระบบที่เป็นพื้นฐาน (platforms) เดียวกันที่สนับสนุนระบบงานที่ถูกต้อง ใช้งานง่าย (user friendly) และมีความน่าเชื่อถือ (reliable) 4. การจัดเก็บสารสนเทศและความรู้เกี่ยวกับนโยบายและการดำเินินงาน การปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) บทเรียนการเรียนรู้ ประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญ/แผนที่ความรู้ (experts/maps) 5. การอบรมอย่างเหมาะสมและทันเวลา 6. โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี 7. การเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีหรือระบบเดิมขององค์กร 8. ระบบการจัดการความรู้ที่เป็นรูปธรรม (KM physical system)
การวัดผลการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 1. มีการวัดผลด้านประโยชน์ของการจัดการความรู้ต่อการปฏิบัติงานและผลกำไรขององค์กร 2. มีการวัดผลกระทบของกิจกรรมการจัดการความรู้ 3. มีการวัดผลการดำเนินการเกี่ยวกับการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้ภายในองค์กร 4. มีการวัดผลเพื่อเปรียบเทียบระหว่างการจัดการความรู้ที่ใช้เครื่องมือแบบง่าย ๆ (common equipment) และการใช้ระบบเทคโนโลยี (system) 5. มีการวัดผลกิจกรรมการจัดการความรู้โดยใช้เครื่องมือที่วัดผลเป็นค่าตัวเลข (metric system) 6. มีกลไกที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนหรือองค์กรสามารถให้ข้อเสนอแนะกิจกรรมได้ (feedback) 7. เครื่องมือวัดผลที่สามารถวัดได้ว่า ความรู้มีการเคลื่อนย้ายอย่างไรและเมื่อไร
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge management process) ประกอบด้วย 1. องค์กรควรมีนโยบายและการดำเนินงาน (policy and procedure) การปฏิบัติ (practices) และกระบวนการ (processes) เกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ 2. มีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการรวบรวมและใช้ความรู้ 3. มีกระบวนการในการกำหนดความรู้ 4. มีกระบวนการในการดัดแปลง (adaption) และยกระดับ (upgrade) ความรู้ 5. มีกระบวนการจัดการความรู้ที่มีความเป็นมาตรฐาน 6. กระบวนการในการไหลเวียนในงานของแต่ละคนมีความชัดเจน
กลยุทธ์การจัดการความรู้ (Knowledge management strategy) ประกอบด้วย 1. กำหนดโครงสร้างของการจัดการความรู้ (KM structure) ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการการวัดผล หน้าที่และความรับผิดชอบ 2. กำหนดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) ได้แก่่ ระบบสารสนเทศ การหมุนเวียนสับเปลี่ยนงาน ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice) มาตรฐานเทียบเคียง (Benchmarking) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) 3. มีการกำหนดกลยุทธ์การจัดการความรู้ ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายขององค์กร 4. มีการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวาง